วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน



บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นบทเรียนบนเว็บวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาหัวบ่อ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
.........................................................
// ข้อมูลสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// ประเภทของข้อมูล // (อ่านต่อ)
// วิธีการประมวลผลข้อมูล // (อ่านต่อ)
// ลักษณะของสารสนเทศที่ดี // (อ่านต่อ)
// การจัดการสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// ระบบสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// ระดับของสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ // (อ่านต่อ)
// แบบทดสอบหลังเรียน // (อ่านต่อ)



วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ


ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
..................................................................
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ขณะเดียวกันเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีราคาถูกลง ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนี้
1.ผลกระทบด้านบวก
-          ด้านคุณภาพชีวิต
o  มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
o  มนุษย์ใช้ระบบโทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ
o  มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก
-          ด้านสังคม
o  สังคมใช้สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร
o  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดชุมชมเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดี่ยวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้
-          ด้านการเรียนการสอน
o  การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างชัดเจน
o  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
2.ผลกระทบด้านลบ
-          ด้านคุณภาพชีวิต
o  โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานา ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ การเกิดปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นต้น
o  โรดทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื้อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความอดทนลดลง
o  มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย
-          ด้านสังคม
o  การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารกันโดยไม่ต้องพบเจอกัน
o  การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น
-          ด้านการเรียนการสอน
o  ผลกระทบในทางลบกันการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
..............................................................................

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
.................................................................
1.ด้านการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการศึกษาให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา มีดังนี้
-          วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand : VOD)
-          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)
-          ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
-          การเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-learning)
2.ด้านธรุกิจ พาณิชย์และสำนักงาน
-          การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
คือการทำกิจกรรมทางธุรกิจผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทาง เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ วิทยุ แฟกซ์ เป็นต้น ทั้งในรูปแบบข้อความ เสียง และภาพ โดยกิจกรรมทางธรุกิจจะเน้นการขายสินค้าหรือบริการ
-          สำนักงานอัตโนมัติ (Office automation)
เป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ มาใช้ช่วยให้การปฏิบัติงานในสำนักงาน เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วมากขึ้น
3.ด้านสาธารณสุขและการแพทย์
-          ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ตัวอย่างเช่น โครงการ USO ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (คทช.) สำหรับระบบแพทย์ทางไกล
-          ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
เป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลชุมชมกับโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านสัญญาณดาวเทียม ซึ่งสามารถส่งได้ทั้งข้อมูล ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
4.ด้านการเกษตร
-          ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) เป็นระบบการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ในระบบคอมพิวเตอร์โดยข้อมูลที่จัดเก็บ เช่น ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น
-          เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลทางการเกษตร
ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลทางการเกษตร การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โรคระบาด การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชความรู้และอาชีพที่เป็นประโยชน์ตลอดจนการรู้จักดูแลรักษาตนให้ปลอดภัยจากโรคและสารเคมี ตัวอย่างเช่น http://www.doae.go.th
5.ด้านสิ่งแวดล้อม
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นผิวโลกและในมหาสมุทร
6.ด้านอื่น ๆ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านอื่น ๆ ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การจัดสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศ เครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศหรือเครือข่ายการบันเทิงต่าง ๆ เช่น การแพร่ภายรายการโทรทัศน์ เคเบิลทิวี เป็นต้น

ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
...............................................................................................
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้ผ่านการประมวลผลและนำมาใช้ประโยชน์ตามความต้องการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) คือการประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ (Computer technology) และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร (Communication technology) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ



ระดับของสารสนเทศ


ระดับของสารสนเทศ
.....................................................
ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสังคมในยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) กล่าวคือ คนในสังคมใช้ข้อมูลและสารสนเทศในการตัดสินใจ มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้ใช้มีความแม่นยำ ให้นักเรียนลองจินตนาการดูว่า หากนักเรียนต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเดินเข้าไปที่ร้านและเลือกพิจารณาคอมพิวเตอร์ทีละยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบด้วยตนเองนั้น นักเรียนคงต้องใช้เวลาเป็นวันในการเทียบเคียงข้อมูล แต่ปัจจุบันหากนักเรียนต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแค่เข้าอินเทอร์เน็ต นักเรียนจะพบว่ามีหลายเว็บไซต์ที่ให้นักเรียนกรอกความต้องการการใช้งานเครื่อง แล้วเว็บไซต์จะประมวลผลและนำเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะและรุ่นใกล้เคียงกับความต้องการได้เพียงเสี้ยววินาที
ระดับของสารสนเทศเป็นระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับดังนี้



ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ
..................................................
ระบบ จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายองค์ประกอบซึ่งจะต้องทำงานประสานกันถึงจะสมบูรณ์
ระบบสารสนเทศ (information system: IS) หมายถึงระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล     การทำสำเนาข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการใช้งานของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่สำคัญมี 5 องค์ประกอบดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ซึ่งฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
                    1. หน่วยรับข้อมูล      
                    2. หน่วยประมวลผลกลาง
                   3. หน่วยความจำหลัก
                   4. หน่วยแสดงผล
                   5. หน่วยความจำรอง
2.ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (Software) คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                    1. ซอฟต์แวร์ระบบ
                    2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.ข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลจนกลายเป็นสารสนเทศ (Information) ดังนั้นข้อมูลที่จะนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจให้เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
4.บุคลากร
บุคลากร (People ware) เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ซึ่งบุคลากรต้องมีความรู้ความสามารถด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นจนถึงระดับสูง แตกต่างกันไปตามหน้าที่ และความรับผิดชอบ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์มีหลายระดับดังนี้
                    1. ระดับผู้ใช้งาน (user)
                    2. ระดับผู้พัฒนาระบบ (system analyst)
                    3. ระดับผู้ปฏิบัติการ (operator)
5.กระบวนการทำงาน
กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานที่ผู้ใช้ต้องทำตาม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ กระบวนการทำงานจะอยู่ในรูปแบบของคู่มือการใช้งานสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 


การจัดการสารสนเทศ


การจัดการสารสนเทศ
......................................................
การจัดการสารสนเทศ คือ ขั้นตอนหรือกิจกรรมในการดำเนินการเพื่อสร้างสารสนเทศซึ่งมีรายละเอียดของขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้


ลักษณะของสารสนเทศที่ดี


ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
.........................................................
ปัจจุบันการประมวลผลข้อมูลดังกล่าวนิยมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคลากร และกระบวนการทำงาน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เรียกกระบวนการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ดังกล่าวว่า ระบบสารสนเทศ (Information System)


วิธีการประมวลผลข้อมูล


วิธีการประมวลผลข้อมูล
....................................................................
วิธีการประมวลผลข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 วิธี คือ
1.การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online processing)
เป็นวิธีการนำข้อมูลแต่ละรายการที่ถูกบันทึกเข้ามาประมวลผลทันที นิยมใช้ในงานที่ต้องได้ผลลัพธ์ให้กับผู้ใช้ทันที หรือในงานที่ข้อมูลจะต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อนักเรียนเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็ม
2.การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch processing)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาหนึ่ง และนำข้อมูลที่ได้รับในช่วงเวลาดังกล่าวมาประมวลผลพร้อมกัน เช่น การเก็บข้อมูลเวลาเข้าออกของนักเรียน และเมื่อถึงสิ้นเดือนโรงเรียนจะนำข้อมูลมาประมวลผลเป็นรายงานการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนประจำเดือน 


ประเภทของข้อมูล


ประเภทของข้อมูล
...............................................................
ข้อมูลแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ในที่นี้ใช้ลักษณะของการรวบรวมข้อมูลเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้


ข้อมูลและสารสนเทศ


ข้อมูลและสารสนเทศ
............................................................................

ข้อมูล (Data)
ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เช่น ชื่อนักเรียน อายุ เพศ จำนวนประชากร ปริมาณฝน เป็นต้น
สารสนเทศ (Information)
สารสนเทศ (Information) หมายถึงข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทันต่อเวลาและอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้สะดวก ซึ่งสารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี
การประมวลผล (Processing)
การประมวลผล (Processing) หมายถึงการกระทำของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล เช่น การรวบรวมเป็นแฟ้ม การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดทำรายงาน เป็นต้น